วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

สรุปบทที่ 6 - 8

งานบทที่ 6
Domain name คืออะไร? ความหมาย แบบง่ายๆ ก็คือ ชื่อเว็บไซต์ นั่นเอง ซึ่งโดยปกติ เว็บไซต์ ทุกเว็บ จะต้องมีที่อยู่ในโลกของ Internet ซึ่งก็คือ IP Address นั่นเอง ซึ่ง IP Adress ถือเป็น หมายเลขประจำตัว ของ คอมพิวเตอร์ ตัวนั้น เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก ทำให้การอ้างถึง computer หรือ server ในเครือข่าย Internet โดยใช้หมายเลข IP ไม่สะดวกต่อผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ ดังนั้นเพื่อให้เป็นการจำได้ง่าย จึงมีระบบ ชื่อคอมพิวเตอร์ ตาม มาตราฐาน ของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า "ดีเอ็นเอส" (DNS : Domain Name System) หรือระบบชื่อ Domain name นั่นเอง โดยเป็นตัวอ้างอิงแทน IP Address
การเข้าถึงโฮส( host )ปลายทางโดยใช้ IP addressอ้างถึงในระดับ Application ไม่สะดวกต่อผู้ใช้งาน เพราะ IP addressเป็นตัวเลขยากต่อการจดจำทำให้เกิดวิธีการใหม่ขึ้นคือ การใช้ชื่อแทนโฮสที่ต้องการอ้างถึงหรือที่เรียก hostname เช่น IP address 158.108.2.71แทน hostname nontri.ku.ac.th.
ดังฐานข้อมูลต้องมีขนาดมหาศาลตามหลักทั่วไปเพื่อเก็บตารางที่ map ข้อมูลระหว่าง IP address กับ hostname ซึ่งฐานข้อมูลนี้ต้องถูกปรับปรุงตลอดเวลาที่มีการติดตั้งโฮสเข้ามาในระบบอินเตอร์เนต ( Internet)
ซึ่งฐานข้อมูลนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของบางองค์กรอย่างใกล้ชิดปัญหาที่เกิดขึ้นคือทุกโฮสจะต้องหาฐานข้อมูลนั้นมาเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล ของโฮสนั้น ฐานข้อมูลที่ได้อาจจะขาดความอยู่กับร่อยกับรอยเพราะต้องมีการปรับปรุงตลอดเวลา จึงเกิดวิธีการใหม่ที่สะดวกขึ้นที่เรียกว่า DNS DNS คือกลไกที่ใช้ในการแปลง hostname เป็น IP address และ IP address เป็น hostname เพราะในการสื่อสารในชั้น IP ในโปรโตคอล TCP/IP จะต้องรู้ IP address ของโฮสปลายทางที่มาติดต่อ กลไกของ DNS จะใช้หลักการของสิ่งที่เรียกว่า distributed database * distributed database คือการที่ฐานข้อมูลมีหลายฐานข้อมูลกระจายอยู่บนserverต่างๆบนอินเตอร์เนต โดยฐานข้อมูลจะไม่เก็บข้อมูลทั้งหมดแต่จะเก็บเป็นส่วนที่มันควรรู้ในระบบของมันและจะมีการสอบถามจากภายนอก เพื่อหาข้อมูลในส่วนที่ภายนอกต้องการ

บทที่ 7 E - mail และ โปรโตคอลของอีเมล์

POP เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่โหลดอีเมล์มาจาก MTA ไปยัง User agent ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 3 เรียกย่อๆว่า POP3 โปรโตคอลนี้เป็นตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้รับอีเมล์ ซึ่งกลไกของ POP3 จะทำงานในแบบ Offline โดยติดต่อเข้าไปยัง เมล์เซิร์ฟเวอร์แล้วดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดมาไว้ที่ User agent จากนั้นจะลบอีเมล์ที่เซิร์ฟเวอร์นั้นทิ้งไป เพื่อป้องกันการดาวโหลดซ้ำ แต่ผู้ใช้จะทำงานแบบ Online กับเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ เนื่องจากการอ่านอีเมล์จะดึงอีเมล์ที่เก็บไว้ใน User agent ขึ้นมาให้อ่านหลังจากที่ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ ซึ่งในขณะนั้นอาจจะไม่ได้ออนไลน์อยู่กับเครือข่ายก็ได้SMTP เป็นโปรโตลคอลที่อยู่คู่กับ POP3 เพราะเป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์จาก User agent ของผู้ส่งไปยัง MTA ของผู้ส่ง และส่งต่อไปยัง MTA เครื่องอื่นๆที่เป็นจุดผ่านในการเชื่อมต่อไปยังเครื่องของผู้รับ โปรโตคอล SMTP จะทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP IMAP 4 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์ สามารถใช้งานได้หลากหลายแบบมากกว่า POP ผู้ใช้สามารถเลือกดาวโหลดเฉพาะอีเมล์ที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องโหลดมาทั้งหมดเหมือนโปรโตลคอล POP3 และยังสามารถรองรับการทำงานได้ทั้งแบบ Offline Online และ Disconnected อีกด้วย ดังนั้นหากผู้ใช้มีอีเมล์แอดเดรสเพียงชื่อเดียว แต่มีเครื่องใช้งานอยู่หลายเครื่องก็จะเกิดประโยชน์จากการทำงาน

บทที่ 8
วิธีการทำงานของ FTP จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องทางการสื่อสาร ก่อนทำงานสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อต่อก่อน ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ ข้อมูล และข้อมูลที่เป็นคำสั่งวิธีการรับส่ง FTP กำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลได้ดังนี้- Stream Mode เป็นวิธีการที่จะรับส่งข้อมูลเรียงลำดับไบต์ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ- Block Mode เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลที่เป็นบล็อก- Compressed Mode เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลแบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น จะทำได้โดยใช้กฏข้อบังคับที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) เครือข่ายอินเตอร์เน็ตบางครั้งจึงถูกเรียกว่า เครือข่าย IP (IP Netwrok) โดย IP จะโปรโตคอลในระดับที่ 3 ของ OSI Model หรือ Network Layer โดยจะมีโปรโตคอลระดับสูง(ระดับที่ 4 ของ OSI Model คือ Transport Layer) ที่ทำงานอยู่เหนือระดับ IP อีกที คือ TCP (Transmission Control Protocol) และ UDP (User Datagram Protocol)
TCP จะเป็นการสื่อสารข้อมูลแบบ Connection-Oriented คือมีลักษณะเหมือนการส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ คือผู้ใช้ต้องสร้าง connecttio (หมุนโทรศัพท์) แล้วถึงส่งข้อมูล (พูดโทรศัพท์) และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ยกเลิก connection (วางสายโทรศัพท์) การส่งข้อมูลแบบนี้ เปรียบเสมือนส่งของผ่านท่อ คือผู้ส่งส่งของทีละชิ้นไปตามท่อ แล้วผู้รับซึ่งอยู่อีกปลายหนึ่งของท่อก็รับของทีละชิ้นออกจากท่อ ตามลำดับที่ของถูกส่งมา
TCP ซึ่งเป็นแบบ Connection-Oriented นี้ จะต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นทำการสื่อสารค่อนข้างนาน การรับส่งข้อมูลจะมีความถูกต้อง และรับรองการได้รับของอีกฝ่ายได้แน่นอน โดยผู้ส่งจะรอรับคำยืนยันว่า "ได้รับแล้ว" ของข้อมูลชุดที่แล้วจากผู้รับเสียก่อน จึงค่อยดำเนินการส่งข้อมูลชุดต่อไป เหมาะกับข้อมูลปริมาณมากๆ และมีความสำคัญ ตัวอย่างการใช้งานที่ใช้ TCP เช่น E-mail , World Wide Web และ FTP (File Transfer Protocol) เป็นต้น