วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

สรุปบทที่ 6 - 8

งานบทที่ 6
Domain name คืออะไร? ความหมาย แบบง่ายๆ ก็คือ ชื่อเว็บไซต์ นั่นเอง ซึ่งโดยปกติ เว็บไซต์ ทุกเว็บ จะต้องมีที่อยู่ในโลกของ Internet ซึ่งก็คือ IP Address นั่นเอง ซึ่ง IP Adress ถือเป็น หมายเลขประจำตัว ของ คอมพิวเตอร์ ตัวนั้น เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก ทำให้การอ้างถึง computer หรือ server ในเครือข่าย Internet โดยใช้หมายเลข IP ไม่สะดวกต่อผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ ดังนั้นเพื่อให้เป็นการจำได้ง่าย จึงมีระบบ ชื่อคอมพิวเตอร์ ตาม มาตราฐาน ของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า "ดีเอ็นเอส" (DNS : Domain Name System) หรือระบบชื่อ Domain name นั่นเอง โดยเป็นตัวอ้างอิงแทน IP Address
การเข้าถึงโฮส( host )ปลายทางโดยใช้ IP addressอ้างถึงในระดับ Application ไม่สะดวกต่อผู้ใช้งาน เพราะ IP addressเป็นตัวเลขยากต่อการจดจำทำให้เกิดวิธีการใหม่ขึ้นคือ การใช้ชื่อแทนโฮสที่ต้องการอ้างถึงหรือที่เรียก hostname เช่น IP address 158.108.2.71แทน hostname nontri.ku.ac.th.
ดังฐานข้อมูลต้องมีขนาดมหาศาลตามหลักทั่วไปเพื่อเก็บตารางที่ map ข้อมูลระหว่าง IP address กับ hostname ซึ่งฐานข้อมูลนี้ต้องถูกปรับปรุงตลอดเวลาที่มีการติดตั้งโฮสเข้ามาในระบบอินเตอร์เนต ( Internet)
ซึ่งฐานข้อมูลนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของบางองค์กรอย่างใกล้ชิดปัญหาที่เกิดขึ้นคือทุกโฮสจะต้องหาฐานข้อมูลนั้นมาเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล ของโฮสนั้น ฐานข้อมูลที่ได้อาจจะขาดความอยู่กับร่อยกับรอยเพราะต้องมีการปรับปรุงตลอดเวลา จึงเกิดวิธีการใหม่ที่สะดวกขึ้นที่เรียกว่า DNS DNS คือกลไกที่ใช้ในการแปลง hostname เป็น IP address และ IP address เป็น hostname เพราะในการสื่อสารในชั้น IP ในโปรโตคอล TCP/IP จะต้องรู้ IP address ของโฮสปลายทางที่มาติดต่อ กลไกของ DNS จะใช้หลักการของสิ่งที่เรียกว่า distributed database * distributed database คือการที่ฐานข้อมูลมีหลายฐานข้อมูลกระจายอยู่บนserverต่างๆบนอินเตอร์เนต โดยฐานข้อมูลจะไม่เก็บข้อมูลทั้งหมดแต่จะเก็บเป็นส่วนที่มันควรรู้ในระบบของมันและจะมีการสอบถามจากภายนอก เพื่อหาข้อมูลในส่วนที่ภายนอกต้องการ

บทที่ 7 E - mail และ โปรโตคอลของอีเมล์

POP เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่โหลดอีเมล์มาจาก MTA ไปยัง User agent ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 3 เรียกย่อๆว่า POP3 โปรโตคอลนี้เป็นตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้รับอีเมล์ ซึ่งกลไกของ POP3 จะทำงานในแบบ Offline โดยติดต่อเข้าไปยัง เมล์เซิร์ฟเวอร์แล้วดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดมาไว้ที่ User agent จากนั้นจะลบอีเมล์ที่เซิร์ฟเวอร์นั้นทิ้งไป เพื่อป้องกันการดาวโหลดซ้ำ แต่ผู้ใช้จะทำงานแบบ Online กับเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ เนื่องจากการอ่านอีเมล์จะดึงอีเมล์ที่เก็บไว้ใน User agent ขึ้นมาให้อ่านหลังจากที่ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ ซึ่งในขณะนั้นอาจจะไม่ได้ออนไลน์อยู่กับเครือข่ายก็ได้SMTP เป็นโปรโตลคอลที่อยู่คู่กับ POP3 เพราะเป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์จาก User agent ของผู้ส่งไปยัง MTA ของผู้ส่ง และส่งต่อไปยัง MTA เครื่องอื่นๆที่เป็นจุดผ่านในการเชื่อมต่อไปยังเครื่องของผู้รับ โปรโตคอล SMTP จะทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP IMAP 4 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์ สามารถใช้งานได้หลากหลายแบบมากกว่า POP ผู้ใช้สามารถเลือกดาวโหลดเฉพาะอีเมล์ที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องโหลดมาทั้งหมดเหมือนโปรโตลคอล POP3 และยังสามารถรองรับการทำงานได้ทั้งแบบ Offline Online และ Disconnected อีกด้วย ดังนั้นหากผู้ใช้มีอีเมล์แอดเดรสเพียงชื่อเดียว แต่มีเครื่องใช้งานอยู่หลายเครื่องก็จะเกิดประโยชน์จากการทำงาน

บทที่ 8
วิธีการทำงานของ FTP จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องทางการสื่อสาร ก่อนทำงานสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อต่อก่อน ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ ข้อมูล และข้อมูลที่เป็นคำสั่งวิธีการรับส่ง FTP กำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลได้ดังนี้- Stream Mode เป็นวิธีการที่จะรับส่งข้อมูลเรียงลำดับไบต์ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ- Block Mode เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลที่เป็นบล็อก- Compressed Mode เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลแบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น จะทำได้โดยใช้กฏข้อบังคับที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) เครือข่ายอินเตอร์เน็ตบางครั้งจึงถูกเรียกว่า เครือข่าย IP (IP Netwrok) โดย IP จะโปรโตคอลในระดับที่ 3 ของ OSI Model หรือ Network Layer โดยจะมีโปรโตคอลระดับสูง(ระดับที่ 4 ของ OSI Model คือ Transport Layer) ที่ทำงานอยู่เหนือระดับ IP อีกที คือ TCP (Transmission Control Protocol) และ UDP (User Datagram Protocol)
TCP จะเป็นการสื่อสารข้อมูลแบบ Connection-Oriented คือมีลักษณะเหมือนการส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ คือผู้ใช้ต้องสร้าง connecttio (หมุนโทรศัพท์) แล้วถึงส่งข้อมูล (พูดโทรศัพท์) และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ยกเลิก connection (วางสายโทรศัพท์) การส่งข้อมูลแบบนี้ เปรียบเสมือนส่งของผ่านท่อ คือผู้ส่งส่งของทีละชิ้นไปตามท่อ แล้วผู้รับซึ่งอยู่อีกปลายหนึ่งของท่อก็รับของทีละชิ้นออกจากท่อ ตามลำดับที่ของถูกส่งมา
TCP ซึ่งเป็นแบบ Connection-Oriented นี้ จะต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นทำการสื่อสารค่อนข้างนาน การรับส่งข้อมูลจะมีความถูกต้อง และรับรองการได้รับของอีกฝ่ายได้แน่นอน โดยผู้ส่งจะรอรับคำยืนยันว่า "ได้รับแล้ว" ของข้อมูลชุดที่แล้วจากผู้รับเสียก่อน จึงค่อยดำเนินการส่งข้อมูลชุดต่อไป เหมาะกับข้อมูลปริมาณมากๆ และมีความสำคัญ ตัวอย่างการใช้งานที่ใช้ TCP เช่น E-mail , World Wide Web และ FTP (File Transfer Protocol) เป็นต้น

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สรุปบทที่ 2-3

สรุปบทที่ 2
โปรโตคอล คือ ระเบียบการที่กำหนดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ถูต้อง
Connectionless เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะการผสมของสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดิโอ โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
IP Address คือเลขรหัสประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ที่อยู่ใน Internet ซึ่งเปรียบเสมือนเบอร์โทรศัพท์ เลขทะเบียนของรถยนต์ หรือเหมือนเลขที่บ้าน (ซึ่งเป็นเลขที่ต้องได้รับการ Assign จากผู้ดูแลเครือข่าย) ซึ่งจะใช้อ้างอิงในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย เมื่อจะติดต่อ หรือส่ง - รับข้อมูลกัน จะได้ระบุได้ถูกว่าต้องการติดต่อกับเครื่องที่มี IP อะไร (เปรียบเสมือนว่าถ้าจะคุยกับผม จะต้องโทรไปที่เบอร์ไหน หรือส่งจดหมายไปที่บ้านเลขที่อะไร) ดังนั้น เครื่องทุกเครื่องที่ต่อ Network ด้วยกัน จะต้องมี IP Address ที่ไม่ซ้ำกัน
รหัสที่แตกต่าง
Data pecket เป็นการทำให้ข้อมูลมีขนาดเล็กลง โดยจะมีการแบ่งเป็นส่วนย่อย

สรุปบทที่ 3
โครงสร้างของโปรโตคอล TCP / IP
คือ คือระบบที่รองรับการตือต่อในเครือข่าย การรับส่งข้อมูลจะไม่คำนึกถึงปริมาณของข้อมูล สามารถนำส่งข้อมูลไปถึงจุดหมายได้แม้เส้นทางบางที่เสียหาย : เป็นจุดประสงค์หลักที่ช่วยให้ทนต่อความล้มเหลว โดยหากระหว่างการสื่อสารข้อมูลและมีเส้นทางใดเสียหายหรือล้มเหลว IP เน็ตเวิร์กจะปรับใช้เส้นทางอื่นที่ทดแทนได้เพื่อนำส่งข้อมูลให้ไปถึงปลายทางอย่างอัตโนมัติ ผู้ส่งและผู้รับข้อมูลไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือปรับตัวแต่ประการใด รับส่งโดยไม่มีการรักษาความปลอดภัยเนื้อข้อมูล : การรับส่งข้อมูลด้วย IP แพ็กเก็ตไม่มีทั้งการเข้ารหัสข้อมูลและป้องกันการปลอมแปลงใด ๆ การไม่เข้ารหัสข้อมูลอาจทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีระหว่างเส้นทางที่ IP แพ็กเก็ตผ่านดักลอบดูเนื้อข้อมูลอย่างง่ายดาย แม้ว่าเราอาจสามารถบังคับเส้นทางของ IP แพ็กเก็ตได้ก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่าระหว่างทางมีการดักลอบดูหรือไม่ ในเรื่องปัญหาการปลอมแปลงแบ่งออกเป็นสองกรณีคือ การปลอมแปลงหรือดัดแปลงเนื้อข้อมูล และการปลอมแปลงส่วนหัวของ IP แพ็กเก็ต ทั้งสองกรณีให้ผลเหมือนกันคือผู้รับได้ข้อมูลที่ผิดจากความเป็นจริง ทว่าจุดประสงค์ต่างกัน หากเป็นกรณีแรกนั้น ผู้ไม่หวังดีต้องการหลอกหรือกลั่นแกล้งให้ได้ข้อมูลผิด ๆ หากเป็นกรณีหลัง ผู้ไม่หวังดีต้องการแอบอ้างว่าข้อมูลนั้นมากจากแหล่งที่ผู้รับไว้ใจหรือแหล่งอื่นที่กลายเป็เหยื่อของการแอบอ้างโดยไม่รู้ตัว
Host - To - Host Layer จะเป็น TCP หรือ UDP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นของ Session Layer และ Transport Layer ของ OSI - Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูล จากปลายด้านส่งถึงปลายด้านรับข้อมูล และตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยให้เหมาะสม กับเครือข่ายที่ใช้รับส่งข้อมูล รวมทั้งประกอบข้อมูลส่วนย่อย ๆ นี้เข้าด้วยกันเมื่อถึงปลายทาง
internetwork คือ จุดศูนย์รวมจะอยู่ที่ผู้จัดการเพราะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางธุรกิจได้รวดเร็วกว่า และความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าได้ดีขึ้นสามารถเปลี่ยน เป็นการนำคนที่เหมาะจากหลาย ๆ ส่วนมาอยู่ด้วยกัน เพื่อต่อสู้กับคู่แข่งทั้งในบ้านและต่าง ประเทศ การทำงานเป็นทีมสามารถเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนด้วยการขจัดสายงานแบบเดิมหรือหลีกเลี่ยงที่จะสร้างขึ้นใหม่ แม้กระทั่งการ reengineering ก็เห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีมเนื่องจากเป็นวิธีการทำงานในแนวราบที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากพลังอำนาจและความสามารถจากสื่อที่เปิดช่องทางใหม่ ๆ สำหรับการสื่อสาร และความร่วมมือทั้งภายในบริษัท ข้ามภูมิประเทศ ซึ่งโครงสร้างการทำงานกระจายกว้างออกไป โดยมีจุดศูนย์รวมอยู่ที่ทีมงานซึ่งเป็นเสมือนหน่วยบริการลูกค้าหน่วยหนึ่ง ซึ่งทีมงานจะต้องคอยให้บริการลูกค้าและทีมงานหน่วยงานอื่น ที่อาจเป็นทั้งบุคคลภายในหรือภายนอกองค์กรก็ได้ ในขณะเดียวกันก็จะเป็นลูกค้าของทีมงานหน่วยอื่นด้วยไปพร้อม ๆ กัน (เรียกว่า แบบ Client – Server ) จึงจะมีการรับ-ส่งข่าวสารสนเทศสอดคล้องโครงสร้างขององค์กรแบบ Team Management ได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ตัวอย่าง โปรโตคอล ต่างๆ

โปรโตคอล IGMP (Internet Group Message Protocol)

โปรโตคอล IP ยังสามารถแบ่งการสื่อสารออกเป็นสองชนิดด้วยกันคือ แบบยูนิคาสติ้ง (Unicasting) และ แบบมัลติคาสติ้ง (Multicasting) โดยยูนิคาสติ้งเป็นการสื่อสารระหว่างฝ่ายส่งและฝ่ายรับ ซึ่งเป็นเการสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Communication) อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องมีการส่งเมสเสจเดียวกันนี้ไปยังผู้รับหลายๆ คน หรือหลายๆ กลุ่ม จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการส่งแบบมัลติคาสติ้ง ซึ่งเรียกว่าการสื่อสารแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many Communication)
ปัจจุบันได้มีแอปพลิเคชันมากมายที่ใช้สำหรับเพื่อการนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ไอพีก็สนับสนุนวิธีการส่งแบบมัลติคาสติ้ง เช่น หมายเลขไอพีแบบมัลติคาสต์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลคลาส D โดย 4 บิตแรก (High-OrderBit) ที่เริ่มต้นด้วย 1110 จะใช้กำหนดกลุ่มของโฮสต์มัลติคาสต์ และด้วยการส่งข้อมูลแบบมัลติคาสต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็จะทำให้ข้อมูลเพียงชุดเดียวที่มาจากฝ่ายส่งจะมาถึงกลุ่มผู้รับหลายๆ คน หรือเป็นกลุ่มสมาชิกได้ด้วยการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเพียงครั้งเดียว ทำให้ลดแบนด์วิดธ์ลงได้มาก ซึ่งแตกต่งจากการส่งข้อมูลแบบบรอดคาสต์ที่โฮสต์บางโฮสต์อาจไม่ต้องการรับข้อมูลเหล่านั้น หรือการส่งแบบยูนิคาสต์ที่โฮสต์ต้นทางจะต้องทำการจัดส่งหลายรอบ ซึ่งจะเท่ากับจำนวนของโฮสต์ปลายทางที่ต้องการข้อมูล ทำให้สิ้นเปลืองแบนด์วิดธ์ ดังนั้นไอ-พีมัลติคาสต์จึงเหมาะกับการนำมาใช้งานบนเครือข่ายกับข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย การประชุมผ่านวิดีโอคอมเฟอร์เร็นซ์ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดแบนด์วิดธ์บนลิงก์มาก เนื่องจากโฮสต์ต้นทางจะส่งข้อมูลเพียงชุดเดียว ไปยังกลุ่มปลายทางที่อยู่ในกลุ่มสมาชิกเดียวกันได้ด้วยการส่งเพียงครั้งเดียว
http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page802.htm

โปรโตคอล UDP (User Datagram Protocol)

โปรโตคอล UDP เป็นโปรโตคอลในลำดับชั้นทรานสปอร์ต โดยในส่วนของเฮดเดอร์จะประกอบด้วยส่วนของหมายเลขพอร์ตต้นทาง/ปลายทาง ขนาดความกว้างของข้อมูล และตัวควบคุมข้อผิดพลาด (Checksum) โดยแพ็กเก็ตที่ประกอบขึ้นจาก UDP นี้จะเรียกว่า ยูสเซอร์ดาต้าแกรม (User Datagram)
UDP เป็นโปรโตคอลชนิดคอนเน็กชันเลส ที่ไม่มีการสร้างคอนเน็กชันกับสถานีปลายทางก่อนการส่งข้อมูลดังนั้น เมื่อมีข้อมูลที่จะส่ง UDP ก็จะดำเนินการส่งข้อมูลเหล่านั้นทันที และไม่มีการรับประกันถึงข้อมูลที่ส่งว่าไปถึงปลายทางผู้รับหรือไป และหากข้อมูลไปไม่ถึงปลายทางหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา ลำดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะต้องเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขเอง ดังนั้น โปรโตคอล UDP จึงเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (Unreliable) โดยรายละเอียดภายในเฮดเดอร์ของโปรโตคอล UDP อธิบายได้ดังต่อไปนี้
w Source Port Address
คือ หมายเลขพอร์ตของฝ่ายต้นทาง
w Destination Port Address
คือ หมายเลขพอร์ตของฝ่ายปลายทาง
w Total Length
คือ ฟิลด์ที่ใช้ระบุความยาวทั้งหมดของยูสเซอร์ดาต้าแกรม ซึ่งมีหน่วยเป็นไบต์
w Checksum
คือ ตัวที่ใช้สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาด โดยใช้แบบ Checksum ขนาด 16 บิต
http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page8011.htm

โปรโตคอล IP (InterNetwork Protocol)

IP เป็นกลไกการส่งข้อมูลที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP ในลักษณะคอนเน็กชันเลส โดยจะไม่รับประกันการส่งข้อมูลว่าจะไปถึงผู้รับหรือไม่ ไม่มีการตรวจสอบข้อผิดพลาด และด้วยการปราศจากกลไกการรับประกันข้อมูลที่ส่งไปถึงปลายทาง การไม่มีการตรวจสอบข้อผิดพลาด ละไม่ต้องสร้างคอนเน็กชันกับโฮสต์ปลายทางนี้เองจึงทำให้หลักการทำงานของโปรโตคอล IP นี้ไม่มีความซับซ้อน โดยมีหน้าที่เพียงนำส่งข้อมูลไปถึงปลายทางได้ด้วยหมายเลข IP ซึ่งเป็นหมายเลขที่ใช้ระบุตำแหน่งเครื่องและเป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน
อย่างไรก็ตาม หากความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลไปยังปลายทางเป็นสิ่งจำเป็น โปรโตคอล IP ก็จะทำงานควบคู่ไปกับโปรโตคอลที่มีเครื่องมือในการตรวจสอบข้อมูลว่าส่งไปถึงปลายทางหรือไม่ นั่นก็คือโปรโตคอล TCP ซึ่งสามารถอธิบายเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนด้วยการเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายไปรษณีย์ โดยการส่งจดหมายแบบปกติ ผู้ส่งจะนำจดหมายมาใส่ซองติดแสตมป์และนำไปหยอดลงในตู้ส่งจดหมาย จากนั้นเมื่อถึงเวลาบุรุษไปรษณีย์ก็จะเปิดตู้จดหมาย เพื่อนำจดหมายนี้ส่งไปถึงผู้รับปลายทางตามที่อยู่ที่ได้จ่าหน้าซองไว้ ซึ่งการส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะไม่มีการรับประกันการส่งว่าจดหมายนี้จะถึงผู้รับปลายทางหรือไม่ จดหมายอาจมีการตกหล่นหรือสูญ-หายระหว่างทางก็เป็นได้ ดังนั้น หากผู้ส่งต้องการความน่าเชื่อถือด้วยวิธีรับประกันว่า จดหมายฉบับนี้จะส่งถึงมือผู้รับอย่างแน่นอน หรือหากไม่ถึงผู้รับ ก็จะต้องได้รับแจ้งข่างสารกลับมาให้ทราบ การส่งจดหมายในลักษณะนี้จึงจำเป็นต้องมีการลงทะเบียน โดยผู้รับจะต้องมีการเซ็นรับจดหมายเพื่อยืนยันว่าได้รับจดหมายฉบับนี้จริง จึงถือเป็นกระบวนการส่งจดหมายถึงผู้รับเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น IP ก็เปรียบเสมือนกับการส่งจดหมายธรรมดา ในขณะที่ TCP ก็คือการส่งจดหมายแบบลงทะเบียนที่มีการรับประกันการส่งถึงมือผู้รับนั่นเอง
http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page8013.htm

วิเคราะห์ปัญหา IT กับ ธุรกิจในปัจจุบัน

ปัญหาทางด้าน IT ที่มีผลต่อ ธุรกิจในปัจจุบัน
พูดง่ายๆเลยในชีวิตประจำวันของเราจะมีการติดต่อ กับ เทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เพราะเหตุนี้เอง เทคโนโลยีจึงมีผลมากในการดำรงชีวิต จนทำให้เกิดผลกระทบตามมา

ปกติแล้วบริษัทที่เป็นธุรกิจ ขนาดกลางและเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ส่วนมาก เมื่อพูดถึงเรื่องการจะนำเอาระบบไอที เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เจ้าของกิจการ มักถือเป็นเรื่องที่อยากจะหลีกเลี่ยง เมื่อได้รับการร้องขอจากพนักงาน เพราะบริษัทขนาดแบบนี้ มักไม่ค่อยมีเงินทุนมากพอ ที่จะตั้งแผนกไอทีขึ้น ภายในบริษัทของตัวเองได้ แม้ว่าบางบริษัทอาจพอมีผู้ที่รู้เรื่อง เกี่ยวกับไอทีอยู่บ้าง แต่พนักงานเหล่านั้น ก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญมากพอ ที่จะจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อน ของเทคโนโลยีขณะนี้ได้
ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอน หลายบริษัทที่เป็นเอสเอ็มอี จำเป็นต้องมองหาทางออกในการต่อสู้กับบริษัทคู่แข่ง การลงทุนด้านไอทีเป็นเรื่องที่มีการพูดมานาน แต่ในประเทศไทยยังมีธุรกิจเอสเอ็มอีใช้ไอทีไม่มากนัก
แอพลิเคชันที่มีการใช้งานกันอยู่ทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบประชุมร่วมผ่านวิดีโอและการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต มักมีการใช้งานพร้อมๆ กัน โดยจะมีผลทำให้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ลดลง ดังนั้น จึงควรเลือกพีซีที่มีสมรรถนะมากพอที่จะช่วยให้พนักงานทำงานหลายๆ งานพร้อมกันได้แบบมีประสิทธิภาพ ต้องมีความเสถียรสูง และมีระบบจัดการด้านความปลอดภัย ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม และทำงานร่วมกับระบบไอทีระบบเดิมได้ เพื่อช่วยให้เรียกใช้ข้อมูลเก่าๆ ได้ รวมทั้งระบบไอทีควรมีระบบแบ็คอัพข้อมูลที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหาย
แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานจะดี หรือรายได้จะเข้าบริษัทมากขึ้น วางแผนระบบไอทีแบบให้สอดคล้องกับธุรกิจ ไม่เช่นนั้น การลงทุนด้านไอที อาจกลายเป็นต้นเหตุของการขาดทุนแบบไม่ได้ตั้งใจได้ ดังนั้น การนำไอทีมาใช้ไม่ใช่ยาขม แต่จะใช้ได้อย่างถูกที่ถูกเวลามากน้อยแค่ไหนนั่นเอง

OSI - TCP/IP มีกี่ Layer และแต่ละ Layer ชั้นใดบ้างที่ตรงกัน


OSI มี 7 เลเยอร์

1. Application Layer
2. Presentation Layer
3. Session Layer
4. Transport Layer
5. Network Layer
6. Data Link Layer
7. Physical Layer

TCP/IP มี 5 เลเยอร์

1. Application Layer
2. Transport Layer
3. Network Layer
4. Data Link Layer
5. Physical Layer

ตัวอย่างอุปกรณ์บทเครือข่าย

การ์ดแลน

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมฯเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องโดยผ่านสายแลนการ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงกับพอร์ตแทบทุกชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ISA, PCI,USB, Parallel, PCMCIA และ Compact Flash ซึ่งที่เห็นใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นแบบ PCIเพราะถ้าเทียบราคากับประสิทธิภาพแล้วถือว่าค่อนข้างถูก มีหลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพันส่วนแบบ USB, Parallel, PCMCIA ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันมากกับเครื่องโน๊ตบุ๊คเพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าการติดอุปกรณ์ลงในพอร์ตภายใน ของเครื่องโน๊ตบุ๊คเป็นเรื่องยากดังนั้นการต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจึงต้องอาศัยพอร์ตภายนอกดังที่กล่าวมา

ฮับ

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งลักษณะการทำงาน ให้ลองนึกถึงภาพการออกอากาศโทรทัศน์ที่เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูลเครื่องที่อยู่บนเครือข่ายทุกเครื่องจะได้รับข้อมูลเหมือนๆ กันทุกเครื่องซึ่งเมื่อแต่ละเครื่องได้รับข้อมูลก็จะดูว่า เป็นข้อมูลของตัวเองไหม ถ้าใช่ก็จะรับเข้ามาประมวลผลถ้าไม่ใช่ก็ไม่รับเข้ามา ซึ่งจากากรทำงานในลักษณะนี้ ในเครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจ่ายสัญญาณจะสามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้ทีละเครื่อง ถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูลเครื่องอื่นๆ ก็ต้องรอให้การส่งข้อมูล
เสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อช่องสัญญาณว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้

สวิตซ์

สวิตซ์จะทำหน้าที่คล้ายฮับแต่จะเก่งกว่าตรงที่เมื่อมีการร้องขอโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อส่งข้อมูลสวิตซ์ก็จะสร้างวงจรเสมือนขึ้นมาให้เครื่องสองเครื่องนี้ส่งข้อมูลถึงกันซึ่งช่องสัญญาณกลางก็จะว่างไว้รองรับการร้องขอส่งข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ ต่อไปถ้านึกภาพไม่ออกให้นึกถึงการทำงานของสายโทรศัพท์ ที่หลายๆ คู่สายสามารถพูดคุยพร้อมๆ กันได้จากคุณลักษณะนี้ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับเพราะแทบจะไม่มีการรอใช้ช่องสัญญาณเกิดขึ้นในเครือข่ายที่ใช้สวิตซ์เป็นตัวกระจายสัญญาณและแน่นอนราคาของสวิตซ์ย่อมแพงกว่าฮับ

โมเด็ม

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้สามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ สายเช่าและสายไฟเบอร์ออฟติก แล้วแต่ประเภทของโมเด็ม ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ยกตัวอย่างเช่นการที่คุณใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หาไอเอสพีที่อยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร เพื่อจะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

เราเตอร์

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เลือกเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลทำหน้าที่ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการล้มเหลวในการส่งข้อมูลและเราเตอร์ยังสามารถช่วยเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่าย
หรือมากกว่าเข้าด้วยกันเพราะเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานบนเครือข่ายอย่างน้อยสองเครือข่าย

Firewall

Firewall คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่องค์กรต่างๆมีไว้เพื่อป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของตนจากอันตรายที่มาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายนอก เช่น ผู้บุกรุก หรือ Hacker Firewall จะอนุญาตให้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ผ่านเข้าออกระบบเครือข่ายภายในเท่านั้น อย่างไรก็ดี Firewall นั้นไม่สามารถป้องกันอันตรายที่มาจากอินเทอร์เน็ตได้ทุกรูปแบบ ไวรัสก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถรับรองได้ว่าความปลอดภัยหรือความลับของข้อมูลจะมีอยู่ร้อยเปอร์เซนต์ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ Firewall แล้วก็ตาม

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

~ ข้ อ เ สี ย ข อ ง ก า ร ใ ช้ I n t e r n e t ~




ข้อเสียของการใช้ Internet



~เนื่องจากสาเหตุที่ Internet เป็นเครือข่ายที่ใหญ่มหึมา มีบุคคลทุกเพศทุกวัยที่ใช้งาน ข้อมูลที่สามารถใช้ได้กับบุคคลวัยหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมกับบุคคลอีกวัยหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก


~ข้อเสียที่เห็นได้ง่ายที่สุดคือสิ้นเปลืองเวลา ยกตัวอย่างเช่น การใช้ WWW ที่ผู้ใช้เพียงแต่เลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งหรือจุดเชื่อม (links) ต่างๆ ที่ต้องการและคลิกไปเรื่อยๆ ก็ดูเหมือนว่าจะทำให้สิ้นเปลืองเวลาได้หลายชั่วโมง


~เป็นช่องทางให้ Virus เข้าสู่ Computer และระบบเครือข่าย Computer


~ทำให้เยาวชนเสียการเรียน เอาเวลามาเล่นเกมส์จนทำให้ไม่อยากที่จะมาเรียน


~มีการซื้อขายบริการ ทางระบบ Internet